วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16


วันอังคารที่ 25 กันยายน 2555


- ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นโดยบอกข้อดีและข้อจำกัดเกี่ยวกับ
  • การใช้ Tablet ในเด็กชั้นประถมศึกษา
  • การใช้ Tablet ในเด็กชั้นอนุบาล


- ในฐานะที่เป็นครูปฐมวัย จึงควร...
  • ทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยคิดว่าเป็นเพียงสื่อชนิดหนึ่ง
  • บริหารจัดการวิธีการใช้ให้เหมาะสม
  • ไม่สามารถนำสื่อตัวนี้มาใช้ให้เป็นทั้งหมดของการเรียนการสอน
  • สื่อที่นำมาสอนส่วนใหญ่ควรเป็นสื่อสามมิติ ต้องเป็นสื่อที่สามารถจับต้องได้ เนื่องจากเด็กต้องใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้
- รูปแบบการเรียนรู้จากการสอน
  • การบรรยาย
  • การวิเคราะห์ (แสดงออกโดยการเขียน Mind Map)
  • การลงมือปฏิบัติจริง
  • การค้นคว้าเพิ่มเติม
  • การสรุปความคิด (โดยการเขียน Graphic Organizer)
  • การมอบหมายงาน
  • การระดมความคิด/การมีส่วนร่วม
  • กระบวนการในการแก้ไขปัญหา
  • การทดลอง คือ การปฏิบัติจริง และการนำผลการทดลองมาเป็นความรู้
  • การดูตัวอย่าง (โดยการดูโทรทัศน์ครู)

*งานที่ได้รับมอบหมาย*

- ลิงก์เว็ปต่างๆ ได้แก่

  • บทความเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  • วิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  • เพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
  • ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15




วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม 2555


จัดกิจกรรมทีโรงเรียนสาธิต

มีทั้งหมด 9 ฐาน

- ฐานขนมปังปิ้ง                     
- ฐานขนมต้ม                                                   
- ฐานลูกโป่ง
- ฐานการเดินทางของเสียง    
- ฐานระดับน้ำมีผลต่อการเดินทางของเสียง   
- ฐานแม่เหล็กหรรษา
- ฐานแม่เหล็กมหาสนุก            
- ฐานลูกข่างหรรษษา




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14


วันอังคารที่ 11 กันยายน 2555


- อาจารย์ตรวจกิจกรรมที่ต้องนำไปจัดในวันที่ 18 กันยายน

- อาจารย์แจ้งให้นักศึกษาทราบถึงกิจกรรมวิชาการคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมทั้งหาตัวแทนที่มีความสามารถ

- อาจารย์แจ้งเรื่องแผนการจัดกิจกรรมในสัปดาห์หน้า พร้อมทั้งให้นักศึกษาจัดเตรียมอุปกรรณ์และป้ายชื่อของน้องๆ




ความรู้ที่ได้รับ

- การนำวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ


- การนำวิทยาศาสตร์ไปประยุกต์ใช้กับกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

1. เคลื่อนไหวและจังหวะ

  • การใช้พลังงาน
  • เสียง/ดนตรี
  • การเคลื่อนไหวร่างกาย
2. ศิลปะสร้างสรรค์
  • การผสมสี
  • ใช้คำถาม
  • การทดลอง
  • การบันทึกผล
3. เสริมประสบการณ์ : เป็นกิจกรรมที่สามารถทดลองให้เด็กเห็นได้
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • เนื้อหาสาระต่างๆ
4. กลางแจ้ง
  • เกมต่างๆ เช่น ลูกโป่งใส่น้ำ
5. เกมการศึกษา : เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ โดยเน้นเนื้อหา
  • จับคู่
  • ภาพตัดต่อ
  • ล็อตโต้
  • อนุกรม
  • โดมิโน
  • จิ๊กซอว์
  • อุปมา-อุปมัย
  • เรียงลำดับเหตุการณ์



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 4 กันยายน 2555


- อ.วิพากษ์วิจารณ์เรื่องบอร์ด การทดลองวิทยาศาตร์





- ส่งสมุดเล่มเล็ก(ขั้นตอนการทำดอกไม้)

- สื่อ


      3 มิติ คือ สื่อที่ผลิตจากวัสดุที่มีความกว้าง ความยาว ความหนาหรือลึก  ผู้เรียนสามารถรับรู้ได้หลายมุมมอง และการรับสัมผัสต่างๆ เช่น หุ่นจำลอง ของจริง เป็นต้น

      2 มิติ คือ สื่อที่มีเเต่ด้านกว้างกับยาว เเต่ไม่มีความหนาหรือความลึก เช่น ภาพนูน เกมการศึกษา เป็นต้น

แบ่งหัวข้อเพื่อไปจัดประสบการณ์วิทยาศาตร์ให้น้องที่สาธิต


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12

วันอังคาร ที่ 28 สิงหาคม 2555


ไม่มีการเรียนการสอน



*หมายเหตุอาจารย์ให้จัดบอร์ดและทำสมุดส่ง










บันทึกการอบรม การผลิตสื่อประยุกต์

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม 2555 และ วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม 2555










ผลงานที่ได้เข้าอบรม

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม 2555

-อาจารย์แจกหนังสือเกี่ยวกับการทดลองวิทยาศาสตร์ โดยจัดเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม


-ให้เลือกการทดลองมา 1 การทดลองและบอกแนวคิด ขั้นตอน และสรุป ของการทดลองนั้น 





บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10


อังคารที่ 14 สิงหาคม 2555


- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ

*อาจารย์ได้นัดชดเชยในวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม 2555*




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9


วันอังคารที่ 7 สิงหาคม 2555


- ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ

*อาจารย์ได้นัดชดเชยในวันเสาร์ที่  25 สิงหาคม 2555*




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8


วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม 2555


**ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก สอบกลางภาค**



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม 2555

 ราสามารถไปทัศนศึกษาจากแหล่งความรู้ต่างๆ ดังนี้
  •  ไบเทค บางนา การจัดนิทรรศการวิทยาศาสตร์
  • ท้องฟ้าจำลอง
  •  พิพิธภัณฑ์
               - พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
               - พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง
               - พิพิธภัณฑ์เด็ก
               - พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
               - พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำบางแสน
               - โอเชียล
               - บึงฉวาก

- ประโยชน์ของการออกไปทัศนศึกษา
  • ได้ประสบการณ์ตรง
  • เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
  • เกิดความตื่นเต้น
  • มีอิสระในการเรียนรู้
  • ได้ความรู้
  • เกิดการใฝ่รู้ = เกิดความสงสัย/เกิดคำถาม/เกิดความอยากรู้
- การออกแบบหน่วยการเรียนรู้(โดยอาจารย์ได้ยกตัวอย่าง หน่วยช้าง)

- สิ่งที่เด็กรู้เกี่ยวกับช้าง
  • ช้างมี 4 เท้า
  • ช้างมีงวง
  • ช้างมีหางยาว
  • ช้างมีนิ้วเท้าใหญ่
  • ช้างมีหูใบใหญ่
  • ช้างมีผิวหยาบ
- สิ่งที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับช้าง
  • ช้างเกิดมาจากไหน
  • ทำไมช้างตัวใหญ่
  • ช้างนอนตอนไหน
  • ช้างร้องอย่างไร
  • ช้างสืบพันธุ์อย่างไร
  • ช้างกินอะไรเป็นอาหาร
- เมื่อไม่ทราบข้อมูล ควรค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับช้างจากแหล่งข้อมูล ดังนี้
  • อินเตอร์เน็ต
  • ถามผู้รู้(สัตวแพทย์, ควานช้าง)
  • อ่านหนังสือ
  • ดูวีดีโอ,รูปภาพ,สื่อการสอนต่างๆ
  • สวนสัตว์
*งานที่ได้รับมอบหมาย*
- เขียนแผนการสอนตามหน่วยที่รับผิดชอบ



บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6


วันอังคารที่ 17 กรฎาคม พ.ศ. 2555



-นำเสนองานที่ต้องแก้ไขในสัปดาที่แล้ว


-ทำไมเราจึงต้องมีการทำสื่อให้เด็กเล่นเอง
          1.การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการเล่น
          2.การเล่นทำให้เด็กเกิดประสบการณ์
          3.การเล่นทำให้เกิดทักษะต่างๆ
         4.การเล่นมีการได้ลองผิดลองถูก

-การเล่นเป็นเครื่องมือทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้


-การเรียนรู้คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม


-การสร้างของเล่นทำให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้เชิงวิทยาศาสตร์


การสอนเด็กทำ
1.เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง
2.เด็กได้รู้จักการเรียงลำดับขั้นตอน
3.เด็กได้รู้จักการใช้คำถาม เช่น ทำไม เพราะอะไร เป็นต้น

*การสะท้อน > ถ้าอยากให้เด็กได้เชิงวิทยาศาสตร์โดยการทำของเล่นเชิงเนื้อหาโดยผ่านของเล่น









บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5


วันอังคาร ที่ 10 กรกฏาคม 2555


- นำเสนองานคู่เกี่ยวกับสื่อวิทยาศาสตร์

1. งานแรกคือของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เด็กสามารถเล่นได้เอง
                                             

กล้องเพอริสโคป


         
      เตรียมอุปกรณ์      :  
                            * กล่องเหล้า หรือกล่องยาสีฟันขนาดใหญ่         
                      * กระจกเงา  2 บาน
                      * กระดาษห่อของขวัญ, ไม้บรรทัด
                      * กาว, เทปใส, กรรไกร, คัตเตอร์, ดินสอ



      วิธีทำ     :
                       1. เปิดฝากล่อง (ที่เตรียมไว้) แล้วสอดกระจกเข้าไปข้างใน หันด้านกระจกเข้าไปในกล่อง วางทำมุม 45 งศา กับกล่อง ทั้งด้านบนและด้านล่างของกล่อง โดยการวางให้ขนานกัน ใช้เทปใสและกาวยึด ให้กระจกแนบกับกล่องพอดี
                  2. ปิดเทปใส ทั้งส่วนบนและส่วนล่างของกล่อง เพื่อผนึกกล่องให้แน่น จากนั้นให้เจาะรูขนาด 2 x 3 เซนติเมตร โดยเว้นระยะห่างจากขอบด้านล่างประมาณ 1.5 เซนติเมตร


***กล้องเพอริสโคปใช้หลักการสะท้อนของแสงผ่านกระจก 2 ชิ้น ที่เอียงทำมุม 45 องศา มาใช้ แสงที่ส่องผ่านเข้ามาตกกระทบกับกระจกจะสะท้อนทำมุม 90 องศาทำให้เราสามารถมองเห็นภาพวัตถุที่อยู่สูงเหนือระดับสายตาได้ 
ซึ่งภาพที่เห็นก็จะอยู่ในทิศทางเดียวกับของจริง***



                     3. นำกระดาษมาห่อ แล้วเจาะที่รูเดิม หรือจะตกแต่งอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ




 2.งานของเล่นวิทยาศาสตร์ที่สามารถสอนเด็กทำได้


ภาพเคลื่อนไหวแบบฟีนำกิสโตสโคป (Phenakistoscope)  





วิธีทำ: อุปกรณ์ที่ใช้ คือ แผ่นกระดาษซึ่งแข็งแรงพอให้หมุนได้โดยไม่หยับและงอ เช่น กระดาษแข็ง กระดาษชานอ้อย ฯลฯ  โดยตัดเป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 8- 12 นิ้ว  ขึ้นอยู่กับขนาดและรายละเอียดของภาพที่ต้องการวาด  จำนวนช่องที่ใช้วาดภาพมีได้ตั้งแต่ 8,10,12 ช่อง หรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้ภาพเคลื่อนไหวดูลื่นไหลเพียงใด  ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้วาดก็ขึ้นอยู่กับความถนัดครับ
เมื่อวาดเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ให้หาแกนมาเสียบเข้าที่จุดศูนย์กลางของแผ่นวงกลม(ดินสอปลายแหลมก็ใช้ได้นะครับ) เพื่อใช้เป็นแกนจับ วิธีเล่นนั้นจะต้องหันด้านที่มีภาพเข้าหากระจกเงา โดยผู้เล่นมองผ่านช่องเล็กๆ เพื่อเห็นเงาสะท้อนในขณะกำลังหมุน






บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 3 กรกฏาคม 2555

- นักศึกษาดูวีดีโอเรื่อง " มหัศจรรย์ของน้ำ"
- น้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิต
- ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกาย 70%
- ผักและผลไม้มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 90 %
- คุณสมบัติของน้ำ
  • ของแข็ง = น้ำแข็ง 
  • ของเหลว = น้ำ  น้ำที่เป็นของเหลวจะมีอุณหภูมิิ 0 ถึง 100 องศาเซลเซียส
  • ก๊าซ = ไอน้ำ
- การเปลี่ยนสถานะของน้ำ
  • การหลอมเหลว = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วที่บรรจุน้ำแข็ง ความร้อนที่ถูกดูดกลืนเข้าไป จะทำลายพันธะไฮโดรเจนในโครงส้รางผลึกน้ำแข็งทำให้น้ำแข็งเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว
  • การแข็งตัว = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง น้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานออกมาในรูปของการคายความร้อน เพื่อให้พันธะไฮโดรเจนสามารถยึกเหนี่ยวโมเลกุลให้จับตัวกันให้เป็นโครงสร้างผลึก
  • การระเหย = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ เมื่อเพิ่มพลังงานความร้อนให้แก้วซึ่งบรรจุน้ำ น้ำจะดูดกลืนความร้อนนี้ไว้ จนกว่าน้ำจะระเหยกลายเป็นไอน้ำหมดแก้ว(การระเหยจะระเหยตรงส่วนบนของผิวน้ำ)
  • การควบแน่น = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะเปลี่ยนจากก๊าซเป็นของเหลว เป็นการถ่ายเทพลังงานความร้อนออกมาในรูปของการคายความร้อนแฝง เพื่อลดแรงของระหว่างโมเลกุล
  • การระเหิด = การที่น้ำเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซโดยตรง ซึ่งต้องการดูดกลืนความร้อนแฝง
  • การระเหิดกลับ = การที่น้ำเปลี่ยสถานะจากก๊าซเป็นของแข็ง ซึ่งน้ำจำเป็นต้องถ่ายเทพลังงานภายในออกมาในรูปของความร้อนแฝง
- การเกิดฝน = ฝนเกิดจากการที่น้ำโดนความร้อนจากดวงอาทิตย์ จนทำให้ระเหยกลายเป็นไอน้ำ ลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำมากขึ้นจะรวมตัวกันเป็นละอองเล็กๆ เมื่อมากขึ้นเรื่อยๆก็จะรวมตัวกันเป็นเมฆฝน จากนั้นก็จะกลั่นตัวออกมาเป็นน้ำฝนตกลงมาสู่พื้นดิน


*งานที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้*
- จับคู่ 2 คน (กลุ่มดิฉันมี 3 คน)
- ทำสื่อวิทยาศาสตร์ให้เด็กเล่นเองในมุมประสบการณ์(ทำสื่อ 2 ชิ้น)
- ศึกษาวิธีการทำสื่อ และทำสื่อที่เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์เพื่อจะนำไปสอนเด็กทำ(1 ชิ้น)








บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันอังคาร ที่ 26 มิถุนายน 2555

*ความรู้ที่ได้รับ*


- เด็กอายุแรกเกิด - 2 ขวบ ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการเรียนรู้
- เด็กอายุ 2-4 ขวบ เด่นด้านภาษา มีการใช้สัญลักษณ์
- เด็กอายุ 4-6 ขวบ มีการปรับความรู้ใหม่
- มนุษย์เกิดการเรียนรู้และการพัฒนาเพื่อความอยู่รอดในชีวิต

- การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์ ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

1. พัฒนาการทางสติปัญญา
  • อายุ 3 ปี
  • อายุ 4 ปี
  • อายุ 5 ปี
2. วิธีการจัด
  • จัดแบบเป็นทางการ
              - รูปแบบการสอนโครงการวิทยาศาสตร์
              - มีจุดมุ่งหมาย 
  • จัดแบบไม่เป็นทางการ
              - มุมวิทยาศาสตร์
              - สภาพแวดล้อมที่ครูเตรียม
  • จัดแบบตามเหตุการณ์
              - ธรรมชาติ
              - สิ่งที่พบเห็น

3. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • กระบวนการขั้นพื้นฐาน
          - การจำแนกประเภท
          - การหาความสัมพันธ์
          - การสังเกต พยากรณ์
          - การวัด
          - การสื่อความหมาย
          - การคำนวณ
  • กระบวนการแบบผสม
          - ตั้งสมมติฐาน
          - กำหนดเชิงปฏิบัติการ
          - การกำหนดแลควบคุมตัวแปร
          - การทดลอง
          - การตีความและสรุป

4. การใช้สื่อ
  • เลือก
          - สถานที่
          - พัฒนาการ
          - วิธีการเรียนรู้
          - เนื้อหา
  • เตรียม
  • ใช้
  • ประเมินผล
     

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันอังคาร ที่ 19 มิถุนายน 2555

* เข้าเรียน 13.00 น.*

- ให้นักศึกษาเขียนความคาดหวังจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
- ซึ่งสำหรับวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยนั้นมีคำสำคัญ 3 คำ ได้แก่


1. การจัดประสบการณ์

  • ทฤษฎี(แนวคิด)
  •  หลักการจัดประสบการณ์
  •  กระบวนการจัดประสบการณ์
  • เทควิธีการ
  •  สื่อ/การจัดสภาพแวดล้อมสนับสนุนการจัดประสบการณ์
  •  วิธีการประเมินผล
 2. เด็กปฐมวัย
  • พัฒนาการ(สติปัญญา) > ภาษา,การคิด(คิดสร้างสรรค์/คิดเชิงเหตุผล)
  • วิธีการเรียนรู้ > ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการกระทำกับวัตถุ(ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย)
3. วิทยาศาสตร์
  • ทักษะ(ทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐาน/ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม)
  • ทักษะกระบวนการขั้นพื้นฐาน
    • ทักษะการสังเกต
    • ทักษะการจำแนกประเภท
    • ทักษะการวัด
    • ทักษะการหาความสัมพันธ์เกี่ยวกับสเปส
    • ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
      • ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล
      • ทักษะการพยากรณ์
      • ทักษะการคำนวณ
      •   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม
      • ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
      • ทักษะการตั้งสมมติฐาน
      • ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
      • ทักษะการทดลอง
      • ทักษะการแปลความหมายข้อมูลและการลงข้อมูล
      • สาระทางวิทยาศาสตร์
      ***วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบตัวเรา***

      *งานที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้*

      ดูพัฒนาการทางสติปัญญาที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์(เด็กอายุ 4 ขวบ)

             พัฒนาการทางสติปัญญาเกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 4 ขวบ
      1. ชอบถาม"ทำไม"
      2. ชี้และบอกสีได้ประมาณ 5-6 สี
      3. จำแนกสิ่งต่างๆด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
      4. สำรวจและทดลองเล่นกับของเล่นหรือสิ่งของต่างๆตามความคิดของตนได้
      5. เรียนรู้จากการสังเกต ฟังด้วยตัวเอง
      6. - จับกลุ่ม 3-4 คน ทำลงกระดาษA4 เอาเนื้อหาจาก 4 หัวข้อจากหลักสูตร มาจัดเป็นกิจกรรมสำหรับ 5 วัน(หน่วยต่างๆ)